ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม 2564-2568
ยุทธศาสตร์ 1 Global social and population research and innovation (งานวิจัยและนวัตกรรมด้านประชากรและสังคม)
เป้าประสงค์ (Goal)
วิจัยด้านประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับโลก (World class demographic and social science research and innovation)
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
-
เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
-
เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อนโยบายและตอบสนองความต้องการของสังคมทุกระดับ
-
เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการที่สนับสนุนงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
-
สร้างกลุ่มวิจัยที่ประกอบด้วยนักวิจัยหลายรุ่นและมีความเป็นสหสาขา
-
มีกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยทุกรุ่นอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
-
สนับสนุน Global Connectivity ด้วยการสร้างความร่วมมือวิจัยกับสถาบัน/โครงการวิจัยระดับนานาชาติแบบสหสถาบันที่มี Global Impact
-
สนับสนุนการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการเชิงนโยบายและความต้องการของสังคมทุกระดับ
-
สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำวิจัยและการสร้างนวัตกรรมทางสังคม
-
สรรหานักวิจัยสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของงานวิจัย
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
-
ร้อยละของบุคลากรสายวิชาการที่เป็น PI
-
ผลงานวิจัยถูกอ้างอิงโดย International Organization
-
ผลงานวิจัยที่นำไปใช้
a.เป็นนโยบายระดับชาติ
b.เป็นนโยบายระดับนานาชาติ
c.ประโยชน์ในสังคม
d.ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
-
Citation per publication
-
International Publication
-
International Publication per academic staff
-
จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ (Publication) ที่ตีพิมพ์ร่วมกับนักวิจัยต่างชาติ
-
จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ (Publication) ที่ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน Q1
-
จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยในปีงบประมาณต่อจํานวนบุคลากรสายวิชาการ
-
จำนวนนักวิจัยสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
ยุทธศาสตร์ 2: Academic and social responsibility education (การศึกษาเพื่อสังคม)
เป้าประสงค์ (Goal)
เพื่อสร้างบัณฑิตให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในทุกระดับ
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
-
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรที่มีความหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้เรียน
-
เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีสมรรถนะพลเมืองโลก ( Global citizen competence)
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
-
พัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษาที่ตอบสนองต่อกระบวนการจัดการเรียนแบบ: Learning Centered Education, Outcome-based Education และ Constructivism)
-
ผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลและพัฒนาหลักสูตรบูรณาการที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย ระหว่างสาขาวิชาต่างๆ
-
พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคนวัยแรงงานและผู้สูงอายุ
-
สร้างสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological environment) ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีบรรยากาศความเป็นนานาชาติ
-
พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและกระบวนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้ตอบสนองต่อการเป็นพลเมืองโลกและมีสมรรถนะสากล
-
ส่งเสริมเชิงรุกและสนับสนุนเครือข่ายศิษย์เก่า เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาและมหาวิทยาลัย
-
พัฒนาช่องทางการเข้าถึงการศึกษา (Platform) ที่หลากหลายรูปแบบ
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
-
ร้อยละของอาจารย์ที่มีระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ (อย่างน้อยระดับ 2 อาจารย์เป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือผู้อื่นได้) (MUPSF - Professional Standard Framework)
-
ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล
-
ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินโดยมหาวิทยาลัย
-
ร้อยละของหลักสูตรที่ได้รับการตรวจประเมินภายในโดยสถาบัน
-
ร้อยละของหลักสูตรยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความต้องการ (Flexi programs)
-
ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความเป็นนานาชาติครบ 3 ด้าน (การศึกษา วิจัย และการเคลื่อนย้ายนักศึกษา)
-
จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง inbound และ outbound
-
ร้อยละของกิจกรรม/โครงการที่จัดกระบวน การพัฒนานักศึกษาที่ตอบสนองต่อการมีสมรรถนะพลเมืองโลก
-
ความพึงพอใจของนายจ้างต่อคุณภาพบัณฑิต (ร้อยละที่ตอบระดับ มาก-มากที่สุด)
-
จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ศิษย์เก่ากลับมาพัฒนาสถาบัน
-
ความผูกพันของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่มีต่อสถาบัน (ร้อยละที่ตอบระดับ มาก-มากที่สุด)
-
บทเรียนหรือรายวิชาที่เป็น e-Learning (ร้อยละต่อรายวิชาทั้งหมดของสถาบัน)
ยุทธศาสตร์ 3: Policy advocacy and leaders in academic services (ผู้นำบริการวิชาการ และรณรงค์เชิงนโยบาย)
เป้าประสงค์ (Goal)
มีความเป็นเลิศในการบริการวิชาการและเป็นผู้กำหนดทิศทางสังคม (Trendsetter) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
-
เพื่อเป็นผู้นำด้านนโยบายประชากรและสังคมระดับชาติและนานาชาติ
-
เพื่อให้สถาบันมีศูนย์บริการวิชาการด้านประชากรและสังคมที่เป็นเลิศในระดับชาติและนานาชาติ (Academic Services Center)
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
-
สนับสนุนการขับเคลื่อน Policy Advocacy
-
มุ่งจัดการบริการวิชาการที่มีมาตรฐาน
-
สร้างระบบบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศด้านการบริการวิชาการ
-
ขยายศักยภาพและการเข้าถึงบริการวิชาการที่มีคุณภาพออกไปสู่กลุ่มเป้าหมายในทุกระดับ
-
ร่วมกับพันธมิตรในการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการวิชาการ วิจัย และนวัตกรรมทางสังคม
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
-
จำนวนโครงการบริการวิชาการที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
-
การเป็นสมาชิกองค์กรบริการวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
-
จำนวนแบบวัดมาตรฐานระดับชาติที่ถูกสร้างโดยสถาบัน
-
จำนวนโครงการบริการวิชาการ
-
จำนวน Platform ที่เป็นช่องทางให้บริการวิชาการ
-
จำนวนชิ้นงาน/คู่มือ/หลักสูตรที่เป็นนวัตกรรมทางสังคม
-
ร้อยละของรายได้สถาบันฯ ที่รับจากโครงการบริการวิชาการ
ยุทธศาสตร์ 4: Management for self-sufficiency and sustainable organization (การบริหารองค์กรเพื่อพึ่งพาตนเองและมีความยั่งยืน)
เป้าประสงค์ (Goal)
การบริหารจัดการเพื่อพึ่งพาตนเองและมีความยั่งยืน
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic goals)
-
เพื่อพัฒนาสถาบันให้มีธรรมาภิบาล
-
เพื่อให้เป็นสถาบันที่มีโครงสร้างและระบบงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจหลัก และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สถาบัน
-
เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของสถาบัน
-
เพื่อให้สถาบันเป็น Digital – based organization
-
เพื่อให้สถาบันเป็น Eco organization
-
เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันให้โดดเด่นทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ (Strategic initiatives)
-
สร้างระบบการสื่อสารสองทาง และผลักดันให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างทั่วถึง
-
สื่อสารและสร้างความเข้าใจแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันให้บุคลากรเกิดความเข้าใจและขับเคลื่อนร่วมกัน
-
พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินของสถาบันให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
-
เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการบริหารสินทรัพย์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
-
พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดีจิทัลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลกลางด้านการวิจัยและบริการวิชาการ
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
-
ใช้ระบบประกันคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
-
สร้างคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานระดับโลก (Strategic Partner)
-
ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของสถาบันอย่างมียุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
-
ร้อยละความสำเร็จของโครงการตามยุทธศาสตร์สถาบัน
-
ร้อยละของบุคลากรที่เป็น Global Talents (ด้านการศึกษา วิจัย และสายสนับสนุน)
-
มีค่า EBITDA เป็นบวก
-
มีค่า Net Income เป็นบวก
-
มีค่า ROA มากกว่าร้อยละ 5
-
จำนวนโครงการสร้างเสริมความเป็นนานาชาติกับคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์
-
สถาบันได้รับคะแนนการประเมิน EdPEx ตาม PA
-
จำนวนโครงการพันธกิจสัมพันธ์สถาบันกับสังคม (IPSR Social Engagement) ที่ดำเนินการครบตามเกณฑ์ 4 ด้าน